วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551

ยาสมุนไพรสำหรับโรคกระเพาะอาหาร



ขมิ้นชัน กล้วย
โรคกระเพาะอาหาร (peptic ulce) หมายถึงอาการปวดแสบ ปวดต้อ ปวดเสียด หรือจุกแน่น ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ (เหนือสะดือ) เวลาก่อนรับประทานอาหารหรือหลังรับประทานอาหารใหม่ ๆ สาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะคือ ความเครียด (วิตกกังวล คิดมาก เคร่งเครียดกับการงาน การเรียน) พฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดเวลา และการรับประทานอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้เช่น เหล้า เบียร์ แอสไพริน (ยาแก้ปวด ยาซอง) ยาแก้ปวดข้อ ยาชุด หรือยาลูกกลอนที่ใส่สเตียรอยด์ เครื่องดื่มชูกำลัง ที่เข้าสารคาเฟอีน เป็นต้นการรักษาโรคกระเพาะ โดยการรับประทานยา และดูแลสุขภาพ ของตนเอง ดังนี้
ก. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
ข. รับประทานอาหาร 3 มื้อตามปกติ
(ถ้าปวดมากในระยะแรก ควรรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่นข้าวต้ม) อย่ารับประทานอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัดไม่จำเป็นต้องแบ่งรับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยมื้อขึ้นดังที่เคยแนะนำกันในอดีต เพราะยิ่งรับประทานมากนอกจากจะทำให้น้ำหนักขึ้นแล้ว (ต้องคอยลดความอ้วนอีก) ยังอาจจทำให้อาการกำเริบได้ง่ายอีกด้วยคนที่เป็นโรคกระเพาะบางครั้งอาจรู้สึกหิวง่ายก็ควรรับประทาน ยาลด กรดแทนนมหรือข้าว

ค. งดเหล้า เบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม และบุหรี่เพราะจะทำให้โรคกำเริบได้
ง.ห้ามรับประทานยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ยาที่เข้าเตรียรอยด์ (ในรายที่จำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้รักษาโรคอื่น ควรปรึกษาแพทย์)
จ.คลายเครียดด้วยการออกกำลังกาย (เช่น วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน โยคะ เต้นแอโรบิก) หรือทำสมาธิ สวดมนต์ ไหว้พระ หรือเจริญภาวนาตามศาสนาที่ตัวเองนับถือ คนที่เป็นโรคกระเพาะเนื่องจากความเครียด การปฏิบัติในข้อนี้ จะมีส่วนช่วยให้โรคหายขาดได้

ขมิ้นชัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn।, Curcuma domesticaVal। ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น(ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืช ขมิ้นมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ประเทศอินเดีย จีน และหมู่เกาะ อินเดียตะวันออกปัจจุบันมีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ อย่างแพร่หลายในประเทศเขตร้อน ขมิ้นเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน อายุหลายปี ถึงฤดูแล้งใบจะโทรม เมื่อย่างเข้าฤดูฝนเริ่มแตกใบขึ้นมาใหม่เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านยาว ใบเหนียว เรียวและปลายแหลม กว้าง 12-15 ซม ยาว 30-40 ซม. ดอกเป็นดอกช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน กลีบประดับสีเขียวอมชมพู ดอกบานครั้งละ 3-4 ดอก ผลรูปกลม มี พู
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแห้ง ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเมื่อขมิ้นอายุราว 7-9 เดือน รสและสรรพคุณยาไทย รสฝาด กลิ่นหอมแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม ท้องร่วง ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เหล้าขมิ้นมีน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ 22-6 เป็นน้ำมันสีเหลือง มีสารหลายชนิด คือ Turmerone, Zingiberene, Borneol เป็นต้น และมีสารสีเหลืองส้ม คือ เคอร์ควิมิน (Curmumin) ประมาณร้อยละ 1.8-5.2

การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า ขมิ้นมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ขับน้ำดี และฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบได้ โดยที่ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะเกิดจากสารเคอร์คิวมิน ขนาด 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทำให้เกิดการกระตุ้น การหลั่ง mucin ออกมาเคลือบกระเพาะ แต่ถ้าใช้ขนาดสูงอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ ส่วนฤทธิ์ลดการอักเสบเกิดจากสารเคอร์คิวมินและน้ำมันหอมระเหย ทำให้ขมิ้นมีผลช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากแผลในกระเพาะได้
ขมิ้นเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง การศึกษาพบว่าขมิ้น ไม่มีพิษเฉียบพลันและไม่มีผลในด้านก่อกลายพันธุ์ วิธีใช้ ขมิ้นใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารโดยการนำเหง้าแก่สดล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน หรือบรรจุแคปซูล เก็บไว้ในขวดสะอาดและมิดชิด รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
บางคนรับประทานขมิ้นแล้วอาจมีอาการแพ้ขมิ้น เช่นคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัวนอนไม่หลับ เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดยาและเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่นแทนยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร
กล้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum Linn. ชื่อท้องถิ่น - ลักษณะ
พืช กล้วยเป็นพืชเมืองร้อนและเป็นพืชที่คุ้นเคยกับคนไทยมาช้านาน เพราะเกือบทุกส่วนของกล้วยมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน กล้วยเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นตรง รูปร่างกลม มีกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบสีเขียวขนาดใหญ่ ขอบใบขนานกัน ช่อดอกคือหัวปลี มีลักษณะห้อยหัวลงยาว 1-2 ศอก มีดอกย่อยออกเป็นแผง กลายเป็นผลติดกัน เรียกว่าหวี เรียงซ้อนและติดกันที่แกนกลางเรียกว่าเครือส่วนที่ใช้เป็นยา ผลกล้วยดิบหรือผลห่าม ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บผลกล้วยช่วงเปลือกเป็นสีเขียว ต้นกล้วยจะให้ผลเมื่ออายุ 8-12 เดือน รสและสรรพคุณยาไทย รสฝาด ฤทธิ์ฝาดสมาน ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ กล้วยดิบประกอบด้วยสารประกอบหลายชนิด คือ Tannin , Serotonin, Norepinephnine, Dopamin และ Catecholamine สารเหล่านี้อยู่ในเนื้อและเปลือกของกล้วยสำหรับกล้วยสุกมี pectin , Essential oil, Norepinephrine และกรดอินทรีย์หลายชนิด ปี คศ। 1964 Best และคณะ ได้พบว่าผงกล้วยดิบมีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะหนูขาว ซึ่งเกิดจากการให้ aspirin โดยสามารถใช้ทั้งป้องกันและรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ ในการป้องกันจะใช้ขนาด 5 กรัม ส่วนการรักษาใช้ขนาด 7กรัม และถ้าเป็นสารสกัดด้วยน้ำจะมีฤทธิ์แรงเป็น 800 เท่าของผงกล้วย ผู้วิจัยเข้าใจว่ากล้วยดิบไปกระตุ้นให้เซลล์ในเยื่อบุกระเพาะหลั่งสารพวก mucin ออกมาเคลือบกระเพาะ กล้วยจะดีกว่ายาพวก Aluminium hydroxide, Cimetidine หรือ Postaglandin ซึ่งมีฤทธิ์เฉพาะป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะเท่านั้น แต่ไม่สามารถรักษาแผลที่เกิดแล้วได้ วิธีใช้ นำกล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นตากแดดประมาณ 2 วัน หรืออบให้แห้งในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และบดเป็นผง วิธีรับประทานโดยการนำผงกล้วยดิบครั้งละครึ่งถึงหนึ่งผล ชงน้ำหรือผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มหรือนำผงกล้วยดิบมาปั้นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน รับประทานแล้วอาจมีอาการท้องอืดเฟ้อ ป้องกันได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย ..............จบ

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551

กะเพรา พญายอ มะแว้งเครือ ปลาไหลเผือก

กะเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum Linชื่อวงศ์ Labiatae
ชื่ออื่นๆ กะเพราขาว กะเพราแดง(ภาคกลาง)กอมก้อ(ภาคเหนือ)
ลักษณะของพืช เป็นไม้ล้มที่มีทรงพุ่มใหญ่และสูงได้ 30-60ซม.มีขนปกคลุมทั่วไปใบเดี่ยวออกตรงข้ามเนื้อใบบางและนุ่ม ก้านใบยาว1-3ซม.ตัวใบรูปร่างรีหรือขอบขนาน กว้าง1-2.5 ซม. ยาว2-4.5 ซม.ปลายใบและโคนใบอาจแหลมหรือมน ขอบใบค่อนข้างหยักเส้นใบทั้ง2 ด้านมีขนปกคลุม ดอกออกรวมกันเป็นช่อ ยาว 8-14 ซม.โดยดอกติดรอบแกนช่อเป็นชั้นๆมีทั้งชนิดที่สีของส่วนต่างๆ เช่น ลำต้น ใบ ดอกเป็นสีเขียว และชนิดที่ส่วนต่าง ๆมีสีเขียวอมม่วงแดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบและยอด ทั้งสดหรือแห้ง
สรรพคุณและวิธีใช้ -แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องใช้ใบและยอด 1 กำมือ (น้ำหนักสดประมาณ 25 กรัม แห้งประมาณ4กรัม )ต้มเอาน้ำดื่ม เหมาะสำหรับเด็กแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน(เกิดจากธาตุไม่ปกติ)ใช้ใบและยอดสดประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 25 กรัม)ต้มเอาน้ำดื่ม
การขยายพันธุ์ นิยมก่รใช้เมล็ด
สภาพดินฟ้าอากาศ ชอบดินร่วนซุย ควรปลูกต้นฤดูฝน
การปลูก กะเพาะ ปลูกง่ายในดินแทบทุกชนิด โดยมากปลูกไว้เป็นอาหาร
ตามบ้านเรือนทั่วๆไป
การบำรุงรักษา ปล่อยให้เจริญเติมโตได้เองโดยไม่ต้องบำรุงรักษาแต่อย่างไร

พญายอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau
ชื่อวงศ์ Acanthaceae
ชื่ออื่นๆ พญาปล้องทอง คงคาเย็น (ภาคกลาง) ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด(เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง)
ลักษณะของพืช เป็นไม้เลื้อยหรือไม้พุ่มเลื้อย ลำต้นสีเขียว ไม่มีหนามใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบตรงกันข้าม ใบรูปรียาว ปลายใบและโคนใบแหลม ขนาดใบกว้าง 0.5-2 ซม. ก้านใบยาว 3-10 มม.ดอกออกเป็นช่อแน่นที่ปลายยอด แต่ละดอกมีใบประดับสีเขียว รูปเรียวแหลมยาว 1 ซม. ติดที่โคนดอกดอกมีกลีบสีแดงลักษณะเป็นหลอดยาว 2-3.5 ซม. ปลายหลอดแยกเป็น 2 ส่วน มีเกสรตัวผู้และเกศรตัวเมียยาวโผล่พ้นหลอด
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด
สรรพคุณและวิธีใช้ช้รักษาโรคผิวหนังจำพวกเริมและงูสวัดใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ (ขนาดที่ใช้สามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามอาการ) ตำผสมเหล้า ทาบ่อย ๆ-ใช้แก้พิษแมลงสัตว์ กัดต่อย (ไม่รวมพิษงู)ใช้ 2-10 ใบ ขยี้หรือตำให้แหลก นำมาทาหรือพอก
การขยายพันธุ์ ใช้ปักชำ
เจริญได้ดีในที่แจ้งและร่ม
การปลูก ตัดต้นตรงส่วนทีไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป ชำลงในดินที่ต้องการรดน้ำให้ชุ่มทันทีและหลังชำใหม่ ๆ ควรรดน้ำทุกวัน จนกว่ากิ่งชำจะเจริญแข็งแรงดี

มะแว้งเครือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum trilobatum Linnชื่อวงศ์ सोलानासाए
ชื่ออื่นๆ แขว้งเคีย(ตาก)มะแว้งเถา(กรุงเทพฯ)
ลักษณะของพืช เป็นไม้เลื้อยหรือไม้พุ่ม กิ่งเลื้อยยาวได้2-5เมตรส่วนต่างๆมักมีหนามโค้งแหลมและสั้น ใบรูปไข่หรือรี ขอบใบหยักเว้า2-5หยักตัวใบมีขนาดกว้าง1-4ซม।ผิวใบอาจเรียบหรือมีหนามเล็กๆตามเส้นกลางใบ ดอกสีม่วงออกเป็นช่อ2-8 ดอก แต่ละดอกมีขนาด2-3ซม।ผลกลมใหญประมาณ8มม।ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลสดสรรพคุณและวิธีใช้ แก้ไอและขับเสมหะใช้ผลสด5-10 ผล ใบโขลกพอแหลกคั้นเอาแต่น้ำใส่เกลือจิบบ่อยๆหรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อการขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดสภาพดินฟ้าอากาศ ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ควรปลูกฤดูฝนการปลูก พรวนดินกำจัดวัชพืชออกให้หมดหยอดเมล็ดลงในดินลึก2-3 ซม.กลบดินรดน้ำให้ชุ่มและควรมีค้างให้เลื้อยด้วยการบำรุงรักษา คอยกำจัดวัชพืชโคนต้นออกให้หมดและคอยตกแต่งกิ่งที่แห้งทิ้งบ้างในบางโอกาส

ปลาไหลเผือก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eurycoma longifolia Jack
ชื่อวงศ์ Simarobaceae
ชื่ออื่นๆ ไหลเผือก เพียก (ภาคใต้) หยิกบ่อถอง (ปราจีนบุรี) คะนาง ขะนาง (ตราด) ตรุสอ(ภาคกลาง)
ลักษณะของพืช เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ซึ่งมีลำต้นสีแดง สูงประมาณ6-15 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านทางด้านข้าง จะมีใบอยู่ตรงส่วนยอดของลำต้นและใบยาวประมาณ 1 เมตร ใบนี้ประกอบด้วยใบย่อยจำนวนมาก ใบย่อยมีขน และรูปร่างเรียวแหลมหรือรูปไข่กลับ ปลายเรียวแหลม ดอกสีแดงยาว10-15 มม. มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ ยาวขนาดใกล้เคียงกันความยาวของใบผลสีน้ำตาล รูปร่างคล้ายรูปไข่ขนาดกว้าง 5-12 มม. ยาว 10-17 มม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา รากแห้ง
สรรพคุณและวิธีใช้ แก้ไข้ ใช้ครั้งละ 1 กำมือ(หนัก 8-15 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้งเช้าและเย็นหรีอเวลามีอากาศ
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดหรือกิ่งตอน
สภาพดินฟ้าอากาศ ขึ้นได้ในดินทุกชนิดโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ความชุ่มชื่นสูงไม่ชอบอากาศหนาว การควรเริ่มปลูกในต้นฤดูฝน
การปลูก อาจปลูกบนร่องหรือบนพื้นดินทั่วๆไป วิธีการก็เช่นเดียวกันพื้นชนิดอื่น
การบำรุงรักษา ในระยะที่ปลูกใหม่ๆ ต้องให้ร่มเงาและรดน้ำให้ชุ่มอย่างน้อยละครั้งเมื่อโตแล้วไม่จำเป็นต้องให้ร่มเงา แต่คอยระวังอย่าให้มีวัชพืชรบกวนโคนต้นมากนัก

ลูกใตใบ

ลูกใต้ใบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus urinaria Linn.
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae
ชื่ออื่นๆ หญ้าใต้ใบ(ทั่วไป) หญ้าใต้ใบขาว (สุราษฎร์ธานี) ไฟเดือนห้า(ชลบุรี)
ลักษณะของพืช เป็นพืชล้มลุกที่อายุสั้นเพียงปีเดียวลำต้นตั้งตรงสูง5-80ซมตามส่วนข้อของต้นมักมีสีชมพูใบรูปคล้ายรูปไข่เกือบขอบขนานโคนใบมนปลายใบแหลมหรือปลายมนแล้วมีติ่งแหลม ด้านบนใบสีเขียวเข้มด้านใต้ใบสีอ่อนกว่า ขนาดใบกว้าง1-8มม.ยาว0.5-2ซม.ก้านใบสั้นมาก ดอกออกตามซอกโคนก้านใบ มีทั้งชนิดดอกตัวผู้และตัวเมียมีขนาดเล็กมากและสีเหลืองซีดหรืออมเขียวผลรูปเกือบกลมใหญ่ประมาณ 3 มม.ผิวนอกขรุขระคล้ายตุ่มหนาม ก้านผลสั้นมากประมาณ 1 มม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา ทั้งต้น สดหรือแห้ง
สรรพคุณและวิธีใช้ แก้ไข้ใช้ครั้งละ 1 กำมือ (แห้ง 3 กรัม สด 25 กรัม )ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็นหรือเวลามีอาการ การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด
สภาพดินฟ้าอากาศ ขึ้นได้ในดินทุกชนิด และเจริญได้ดีในฤดูฝน
การปลูก ลูกใต้ใบเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกที่พบได้ทั่วไปในที่โล่งแจ้ง หรือตามใต้ร่มเงาจึงไม่มีการปลูกแต่อย่างใด และจะพบมากในฤดูฝน